อัคคีภัยหรือไฟไหม้เป็นเหตุการณ์ณ์ที่อันตรายส่งผลกระทบต่อชีวิตและทรัพย์สินได้ในวงกว้าง ยิ่งในสำนักงานที่มีบุคลากรที่ทำงานอยู่หลายชีวิต และมีทรัพย์สินต่างอยู่ด้วย ต้องคอยระมัดระวังและคอยตรวจสอบความปลอดภัยอยู่สม่ำเสมอ ควรให้ความสำคัญคือการเตรียมพร้อมเมื่อเกิดเหตุการณ์ไฟไหม้ อย่างการเลือกอุปกรณ์เพื่อควบคุมและป้องกันไฟไหม้อย่าง ถังดับเพลิง ต้องเลือกใช้ให้ถูกต้องเพื่อจะได้ดับเพลิงอย่างรวดเร็วและปลอดภัยที่สุด
ข้อควรรู้ก่อนตัดสินใจซื้อ ถังดับเพลิง
ประเภทของเพลิงไหม้และต้นเหตุของเพลิงไหม้
1.เพลิงไหม้ประเภท A (Ordinary Combustibles) เพลิงไหม้ที่เกิดจากเชื้อเพลิงธรรมดา เช่น กระดาษ ไม้ ผ้า และพลาสติก ที่สามารถติดไฟได้ง่ายและสามารถดับเพลิงด้วยน้ำเปล่าได้
2.เพลิงไหม้ประเภท B (Flammable Liquids) เพลิงไหม้ที่มีส่วนผสมและต้นเหตุที่ของการเกิดเพลิงใหม่จากน้ำมัน เช่น น้ำมันดิบ น้ำมันก๊าด น้ำมันเบนซิน ฯ หรือก๊าซไวไฟชนิดต่างๆ การดับเพลิงไหม้ในลักษณะนี้ให้ได้รวดเร็วคือกำจัดออกซิเจนที่อยู่ในอากาศที่อยู่โดยรอบออกให้ได้มากที่สุด
3.เพลิงไหม้ประเภท C (Electrical Equipment) เพลิงไหม้ที่มีต้นเหตุมาจากอุปกรณ์ไฟฟ้าที่ได้รับความเสียหายหรือการลัดวงจรของไฟฟ้า จนเกิดเป็นประกายไฟทำให้ไฟไหม้ลุกลามไปยังบริเวณต่างๆ การดับไฟประเภทนี้ไม่ควรใช้สิ่งที่สื่อนำไฟฟ้ามาใช้ดับไฟและก่อนการดับไฟทุกครั้งควรดับไฟตัดวงจรไฟฟ้าที่เหลืออยู่เพื่อความปลอดภัย
4.เพลิงไหม้ประเภท D (Combustible Metals) เพลิงไหม้ที่เกิดจากโลหะและสารเคมีต่างๆ ที่สามารถติดไฟได้ อย่างเช่น ไทเทเนียม แมกนีเซียม อลูมิเนียม โพแทสเซียม ฯ เมื่อติดไฟแล้วจะไม่สามารถใช้น้ำเพื่อดับไฟได้ เนื่องจากอาจจะทำให้ต้นเพลิงโหมลุกไหม้แรงกว่าเดิมหรือมีสารพิษต่างๆ ปนเปื้อนออกมาได้
5.เพลิงไหม้ประเภท K (Combustible cooking) เพลิงไหม้ที่มีต้นเพลิงมาจาก น้ำมันทำอาหาร น้ำมันพืช ไขมันสัตว์ติดไฟ วิธีที่จะช่วยดับไฟประเภทนี้ได้รวดเร็วและดี
ที่สุดคือใช้ถังดับเพลิงที่มีสารชนิดพิเศษที่สามารถดับไฟชนิดนี้โดยเฉพาะ
ชนิดของถังดับเพลิงที่ควรรู้จักเบื้องต้น
1.ชนิดผงเคมีแห้ง (Dry Chemical)
ถังดับเพลิงที่บรรจุผงเคมีแบบแห้งเอาไว้ด้านใน เมื่อทำการดับเพลิงจะมีฝุ่นละอองของสารเคมีดังกล่าวฉีดพ่นออกมาเพื่อดับไฟ ข้อจำกัดคือสารเคมีผงมักฟุ้งกระจายไปทั่วบริเวณที่ดับไฟและเมื่อเปิดใช้ไปแล้วถึงจะใช้ไปในปริมาณที่น้อยไม่หมดถังก็ต้องส่งอัดบรรจุใหม่เท่านั้นเพราะแรงดันในตัวถังตกไม่สามารถใช้งานได้ต่อสามารถใช้ได้กับเพลิงไหม้ประเภท A, B ,C
2.ชนิดน้ำยาเหลวระเหย
ถังดับเพลิง ที่บรรจุน้ำยาระเหยหรือสารเคมีเหลว เมื่อฉีดออกมาแล้วจะมีลักษณะเป็นไอระเหยไม่ทิ้งคราบฝุ่นละอองที่ทำให้สกปรก และยังไม่ทำให้อุปกรณ์ไฟฟ้าต่างๆ เสียหาย เหมาะกับพื้นที่มีเครื่องใช้ไปไฟฟ้าจำนวนมาก เช่น ส่วนสำนักงาน ที่มีทั้งคอมพิวเตอร์ เครื่องถ่ายเอกสาร รวมไปถึงเครื่องใช้ไฟฟ้าต่างๆ อีกมากมาย สามารถดับไฟประเภท A,B,C
3.ชนิดก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ (CO2)
ถังดับเพลิงที่บรรจุก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์เอาไว้ภายใน เมื่อใช้งานโดยการฉีดพ่นก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ออกมาจะมีอุณหภูมิที่เย็นมากๆ ทำให้สามารถดับไฟและลดอุณหภูมิไปในตัวช่วยลดการลุกลามของไฟได้อย่างรวดเร็ว พร้อมทั้งไม่ทิ้งคราบฝุ่นละอองต่างๆ เอาไว้ สามารถดับไฟประเภท B,C ได้
4.ชนิดโฟม
ถังดับเพลิง ที่ภายในบรรจุโฟมไว้ เมื่อใช้งานจะเป็นลักษณะโฟมสีขาวปกคลุมบริเวณเพลิงไหม้ สามารถดับเพลิงที่เกิดจากเชื้อเพลิงประเภททินเนอร์ และสารระเหยติดไฟ และเพลิงไหม้ประเภท A,B ได้เป็นอย่างดี แต่มีข้อจำกัดคือไม่สามารถดับไฟเพลิงไหม้ประเภท C ได้เนื่องจากเป็นสื่อนำไฟฟ้าอาจก่อให้เกิดอันตรายได้
5.ชนิดสูตรเคมีน้ำ
เป็นสารทดแทนสารฮาล่อน 1211 ซึ่งเป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม ใช้งานง่ายไม่เป็นฝุ่นละอองและยังปลอดภัยต่ออุปกรณ์ไฟฟ้าและอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ต่างๆ สามารถดับเพลิงไหม้ประเภท A,B,C,K ได้
วิธีการใช้ถังดับเพลิงในสำนักงานและข้อควรระวัง
1.เดินเข้าไปในทางเหนือลมโดยควรห่างจากฐานของไฟอย่างน้อย 2 เมตร
2.ดึงสลักหรือบิดลวดที่รั้งวาล์วออก เพื่อเตรียมถังดับเพลิงพร้อมใช้งาน
3.ยกหัวฉีดไปที่ฐานของไฟโดยทำมุมประมาณ 45 องศา
4.บีบไกคันบังคับเพื่อเปิดวาล์วให้ก๊าซพุ่งออกมา
5.ส่ายหัวฉีดไปมาที่ฐานไฟเพื่อดับไฟอย่างช้าๆ ไม่เร็วจนเกินไป
6.สังเกตว่าไฟดับสนิทดีแล้วจึงขยับไปดับไฟในบริเวณอื่นๆ ต่อไป
ข้อควรระวังสำหรับถังดับเพลิงในสำนักงาน
1.เลือกซื้อถังดับเพลิงให้เหมาะสมกับความความต้องการและความน่าจะเป็นในการเกิดเพลิงไหม้ประเภทต่างๆ
2.ตรวจเช็คถังดับเพลิงให้มีสภาพดี พร้อมที่จะใช้งานอยู่เสมอ
3.ไม่วางถังดับเพลิงในที่สูงเกินไปหรือในสถานที่จะนำมาใช้งานได้ยาก เพราะเมื่อเกิดเหตุเพลิงไหม้จะได้หยิบมาใช้ได้อย่างทันท่วงที
4.ไม่ควรละเลยเรื่องการฝึกซ้อมหนีไฟ บุคคลในสำนักงานทุกคนควรมีความรู้และสามารถใช้ถังดับเพลิงได้ และควรเตรียมแผนรองรับต่างๆ เมื่อเกิดเหตุเพลิงไหม้ขึ้น
เหตุการณ์เพลิงไหม้เป็นเหตุการณ์ที่ไม่อาจคาดเดาได้ว่าจะเกิดขึ้นในเวลาใด การที่มีถังดับเพลิงเอาไว้ตามจุดต่างๆ ในสำนักงานเป็นวิธีที่จะช่วยป้องกันและช่วยลดโอกาสและความรุนแรงต่าง ๆ ที่จะเกิดขึ้นในขณะที่เกิดเพลิงไหม้ได้ ดังนั้นควรให้บุคลากรในสำนักงานได้ศึกษาหาความรู้เรื่องวิธีการเอาตัวรอดและการใช้ถังดับเพลิงเมื่อเกิดเหตุเพลิงไหม้อย่างสม่ำเสมอเพื่อความปลอดภัยของชีวิตและทรัพย์สินต่างๆ
อ่านบทความ แนะนำ โต๊ะทำงานออฟฟิศ ควรใช้ยี่ห้อไหนดี
เครดิตรูปภาพจาก www.pixabay.com